ใครๆ ก็เป็นมืออาชีพได้ ถ้าอยากเป็น
Everyone was professional, If you want to be.
ใครๆ
ก็ต้องมีจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพในหน้าที่การงาน
และสิ่งที่ตนทำอยู่. สมัยผมเด็กๆ เคยเห็นคำขวัญติดอยู่ตามกันสาดผ้าใบว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” ว่าไปแล้ว
ก็ยังคงเป็นจริงตราบเท่าทุกวันนี้ เพียงแต่ว่าผมเองเริ่มต้นและก้าวไปบนเส้นทางการขาย
มาตลอดชั่วชีวิต ถือได้ว่าเป็นมืออาชีพ ทางด้านงานขาย
และมีรายได้จากงานขายมาโดยตลอด กว่า 35 ปี
การเป็นมืออาชีพ ในทัศนะผม คือ การเคารพในงานที่สร้างรายได้แก่เรา
ซึ่งอาจจะเป็นงานประจำเต็มเวลา งานล่วงเวลา หรืองานโอที ตลอดจนงานชั่วคราวหรืองานรายชิ้นก็ตาม. ทุกๆ งานที่สุจริต
และเป็นทางเลือกในการสร้างอนาคตที่ดี ที่เรายอมรับเข้าสู่ชีวิตเรา เราย่อมคาดหวังว่างานที่เราทำ เป็นอาชีพที่มั่นคงได้
และสามารถเป็นเครื่องมือในการสร้างอนาคตของตนเองและครอบครัวได้ อันที่จริงทุกๆ
อาชีพ ล้วนสามารถสร้างความมั่นคงแก่เราได้
เพียงแต่ว่าเราเป็นผู้เลือกงานที่เราคิดว่าจะยึดเป็นอาชีพ เพื่อรองรับการดำเนินชีวิตของตนเองอย่างมีความสุข
งานพิเศษ งานรายได้เสริม โอกาสทางธุรกิจต่างๆ อาจจะก้าวเข้ามาในชีวิตของเรา ในบางช่วงขณะ
และในบางคนก็รับมันเข้ามาในชีวิต และในบางคนเพียงแค่รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่ารำคาญที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
และในบางคนก็คาดหวังผลตอบแทนสูงมากๆ ภายใต้การพัฒนาการตนเองต่ำ
และมีเพียงบางคนเท่านั้นที่ยอมรับและเคารพในงานที่สร้างรายได้ใหม่ให้
จึงมีเพียงบางคนเท่านั้นที่สามารถก้าวสู่งานรายได้พิเศษนอกเหนือจากงานประจำ
ด้วยความเป็นมืออาชีพ “มืออาชีพ คือ ผู้ยอมรับและเคารพในงานที่ทำ” ใครๆ
ก็เป็นมืออาชีพได้ และมืออาชีพย่อมรู้ดี และเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า ตนเองต้องพัฒนาตนเองให้คู่ควรกับผลตอบแทนที่เติบโตขึ้นเสมอ
ใครๆ ก็เป็นมืออาชีพได้
แต่การก้าวสู่ความสำเร็จในอาชีพ ผมเองขอหยิบยกเอา หลักธรรม เรื่อง อิทธิบาท4
มาเป็นเครื่องนำทางสู่ความสำเร็จ และ ผมได้นำเรื่อง อิทธิบาท 4 ที่มาจาก: http://www.learntripitaka.com/scruple/Itibaht4.html มาลงไว้เพื่อนำทางทุกท่านสู่ความสำเร็จดังที่ท่านปรารถนา
สรรพสิ่งในโลก ล้วนสมเหตุสมผล
ด้วยรัก
กอบชัย
ศรบรรจง
คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง
สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด
ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑.
ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน
แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
ฉันทะ คือ ความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้
ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
วิริยะ คือ ความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ
ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
จิตตะ หมายถึง ความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึกของตัว
ทำสิ่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย
ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
วิมังสา หมายถึง
ความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ
ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่